วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะแปลงร่าง TV box ให้เป็น PC Episode.II

ต่อจากครั้งก่อน
วันนี้ไปหาซื้อ zealz GK802 จากเมืองจีน ราคาประมาณ 65$ (2,200 บาท) ภาษีขาเข้าอีก 20% ประมาณ 440 บาท.



ระหว่างรอของที่สั่ง ก็หันไปเตรียมอุปกรณ์เสริม อาทิเช่น
   1.mouse+keyboard USB หรือ wireless (2 in 1 wireless ซื้อมาราคา 620 บาท)
   2.micro SD card
   3.Firmware GK802 (อันนี้เผื่อว่าไม่สำเร็จจะได้กลับมาใช้อันเดิม)
รอลุ้นอีกครั้งครับ

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะแปลงร่าง TV box ให้เป็น PC Episode.I

ที่หายไปหลายวันไม่เติมเต็ม blog อย่างต่อเนื่องก็เพราะว่าตอนนี้กำลังคิดที่จะนำ Android TV box มาทำให้เป็นคอมพิวเตอร์เพื่อไว้ใช้งานทำเอกสาร

นี่คือเป้าหมายใหม่ของผม แน่นอนครับว่ามันไม่ได้ทำให้ผมประหยัดเงินหรือเวลากว่าการหิ้ว Notebook ไปมาเลย ชีวิตมันก็งี้ ง่ายๆ ไม่ชอบ

ลองมาดูกันครับว่าผมจะทำสำเร็จหรือไม่

ตอนนี้เริ่มเก็บข้อมูลก่อน ผมไปสืบเสาะพบว่า MK802III มีผู้นำมาใช้ทำ PC บ้างแล้ว แต่มันทำงานเอกสารได้ยัง?
ตัว MK802III ใช้ชิป RK3066 วางจำหน่ายมาเป็นปีส่วนตัวผมเห็นว่าเริ่มเก่า แล้วยังหาซื้อในบ้านเราไม่ง่ายเท่าไหร่ ตอนนี้มันออก MK802IIIs ราคา 1,950.- ตามดูก็ยังไม่ค่อยพบว่าสามารถรัน Ubuntu ได้อย่างดี
สนใจดูที่ร้านขาย minipcthailand และ vivaonline มีหลายรุ่นเหมือนกัน


ไปหารุ่นที่เขาแนะนำมี MK802II, MK802III, UG802 และถ้าเป็น rikomagic เขามีรุ่น LE (Linux edition) ซึ่งราคาสูงกว่ามาก ประมาณ 3,500-4,500 (ยังไม่รวมภาษีนำเข้าอีก 20%) ข้อดีคือเป็นลินุกซ์แน่ๆ รองรับ wifi

งานนี้ต้องเลือกละครับว่าจะเอากี่ core มาดูกัน MK802II เป็น single core  MK802III, UG802 เป็น dual core ส่วน MK802IV และ GK802 เป็น Quad Core ตัว MK802IV ราคาประมาณ 3,300.- ส่วน GK802 ค้นดูยังไม่เห็นมีขายในเมืองไทย

มีเรื่องที่ต้องตัดสินใจล่ะครับ
ตัวเลือกต่างๆ มีดังนี้
MK802II     เก่า (Allwinner A10) ไม่น่ามีขายในไทย รัน ubuntu ได้ ราคานอก 43$
MK802III    เก่า (RK3066) ตอนนี้ไม่มีขายในไทย รัน Ubuntu ได้ ราคานอก 50$ (ราวๆ 2,000 เมื่อถึงมือ)

MK802IIIs   ใหม่(RK3066) มีขายในไทย แต่ยังไม่พบว่ามีใครรัน Linux distro ราคา 1,950.-
MK802IV    ใหม่กว่า แรงกว่า(RK3188) มีขายในไทย รัน ubuntu ได้ ไม่รองรับ wifi สนนราคา 3,300

GK802        เก่าหน่อยแต่แรง (Freescale i.MX6) ตอนนี้ไม่น่ามีขายในไทย รัน ubuntu ได้ รับ wifi ได้ สนนราคา 80$ (ราวๆ 3,100 เมื่อถึงมือ)



ราคาจะมาพร้อมความแรง ความใหม่ แน่นอนว่าเรามีเป้าหมายที่จะทำเป็นคอมฯ ต้องรัน OS ubuntu เพื่อลง office สักตัว
เห็นทิศทางแล้ว ก็คงเลือกได้ แน่นอนครับว่าผมจะลองทาง GK802 ติดตามกันต่อครับ
ว่าเป้าหมายที่วางไว้จะเป็นไปได้หรือไม่?

ลองใช้งาน Ubuntu desktop ใน Nexus7

   นอกจากจะมี nexus4 แล้วผมยังสะสม nexus7 3G (tilapia) อยู่อีกอันหนึ่ง กัดฟันผ่อน 10 เดือนทั้งคู่
แน่นอนครับว่าผมได้ลอง ubuntu ใน nexus 7 นี้ด้วย ได้ลองทั้งแบบใช้รันบนแอนดรอย์และ MultiROM

ลูบไล้ไปมา ก็หยุดทำงานซะงั้น ต้องรีสตาร์ทใหม่อยู่ร่ำไป อันนี้เป็นจุดที่ทำให้ไม่อยากใช้ต่อ
แม้ว่าจะใช้งานได้เฉกเช่น desktop ก็เถอะ ความคิดเห็นของผมก็คือ ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ไม่เหมาะสมกับการใช้งานประจำวันเลยครับ


กลับไปบูตเข้า android น่ะดีแล้ว

ส่วนใครที่สนใจทำ multiROM สำหรับ Nexus7 ลองดูลิ้งค์ล่างนี้

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Kill process in commandline

เมื่อวันก่อนเปิดอีเมล์ เปิดไปอยู่ๆ มันก็เดี้ยงซะงั้น ไอ้เราก็ไม่เคยเจอสักที ไปปรึกษาอากู๋(เกิ้ล)ให้ช่วยชี้ทางสว่างมา เมื่อทำสำเร็จแล้วจึงขอมาเล่ากันลืมครับ

เรื่องมีอยู่ว่าเปิด Thunderbird (เหมือน MS outlook ของอีกค่ายหนึ่งน่ะครับ) มันก็ไม่ยอมทำงาน
จะปิดก็ไม่ได้ ของใหม่ก็เปิดไม่ได้ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จะ terminate มันอย่างไรน้อ กูเกิ้ลพักเดียวจึงรู้ว่าทำไง มาดูกัน

หน้าจอมันแสดงอย่างนี้ ที่ผมบอกว่าทำต่อไม่ได้เลย

ถ้ารีสตาร์ทก็ง่ายไป

ให้ทำดังนี้ เปิด Terminal พิมพ์คำสั่ง
  pstree -p

(มีอีกคำสั่งคือ ps ux แต่หาตัวเลขยาก)


หาเจ้าโปรแกรมที่ค้างเติงอยู่

ในที่สุดก็เจอ --thunderbird(3698)----{thunderbird} (3703) อยู่เป็นกิ่งหนึ่ง
ให้จำเลข 3698 ไว้ มันคือ Process PID
ที่ Terminal ให้จัดการด้วยคำสั่งนี้เลยครับ
   kill -9 [process PID]

[process PID] ให้แทนที่ด้วยเลขของโปรแกรมเมื่อตะกี้นี้ ซึ่งก็คือ
    kill -9 3698

เพียงเท่านี้ก็จัดการได้เรียบร้อยครับท่าน


เพิ่มเติมอีกนิด บังเอิญไปพบอีกวิธี จึงขอเล่าเพิ่มเติมดังนี้ครับ
ไปที่ dash home พิมพ์หา system monitor เจอแล้วเปิดขึ้นมาทำ



ดูที่แทบ process จะเห็นรายการ เรียงตามอักษรเลย
เลือก ที่ต้องการจะปิด ตัวอย่าง ต้องการจะปิด software center
ซึ่งมี Process PID เหมือนกันกับคำสั่งที่เคยบอกก่อนหน้านี้



คลิก End Process สำเร็จแล้วครับ

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ควรใช้อูบุนตุรุ่นใหม่ล่าสุดหรือรุ่น LTS ดี?


แม้ว่าตัว Ubuntu 13.04 ที่ออกมาใหม่นั้นจะประกอบด้วยโปรแกรมรุ่นล่าสุด อีกทั้งยังปรับปรุงจุดอื่นเพิ่มเติมเข้าไปด้วย บางทีส่วนที่เพิ่มเข้ามานั้นก็ไม่จำเป็นที่เราๆ ท่านๆ ต้องอัพเกรดก็ได้ ก็ไม่ต่างกันในแง่การใช้งาน
ทางฝั่งอูบุนตุเองบางทีการที่จะออกตัวใหม่แล้วเหมือนเดิมผู้ใช้งานก็จับทางได้ ว่าไม่น่ามีลูกเล่นอะไรใหม่ๆเท่าที่ควร ทางแก้ก็คือออกตัวโปรแกรมรุ่นพิเศษที่มีออพชันที่น่าสนใจเพิ่มเข้าไปอีก อาทิ เช่น เวอร์ชั่น 12.04 LTS
   โปรแกรมอย่าง Valve's steam ก็ถูกออกแบบมาให้รองรับกับ Ubuntu 12.04 LTS เป็นรุ่นแรกและน่าจะตลอดไปด้วยเช่นกัน เจ้า LTS ที่ว่านี้จะถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สามารถรองรับหรือเข้ากันได้กับอุปกรณ์รุ่นล่าสุดที่ออกสู่ตลาด แบบว่าเครื่องใหม่ๆ ก็ใช้ LTS นี้ได้ เพราะการพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำนั่นเอง

แล้วอะไรมันคือ LTS ล่ะนี่?
LTS ย่อมาจาก “long-term support” ที่หมายความถึงการรองรับหรือสนับสนุนระยะยาวจากอูบุนตุ เวอร์ชั่น LTS ถูกปล่อยออกสู่ตลาดโดยเน้นกลุ่มผู้ใช้งานด้านธุรกิจ เน้นความเสถียรและจะได้รับการสนับสนุนหรือคอยอัพเดตเรื่องความปลอดภัยเป็นเวลาหลายปี

อย่างไรก็ตามอูบุนตุยังคงมีแผนผลิตเวอร์ชั่นใหม่ออกมาทุกๆ หกเดือนเป็นประจำ ผู้ใช้งานส่วนมากจะติดค้างอยู่จุดนี้ เพราะนี่เป็นวิธีที่จะได้ใช้งานอูบุนตุก่อนที่รุ่น LTS จะถูกปล่อยออกมาให้ใช้งาน จะว่าไปแล้วด้วยความที่อยากรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่นเขาด้วยการก้าวตามทันสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ตอบรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเพียงแค่การปรับปรุงนิดหน่อย เพิ่มออพชั่นหรือโปรแกรมรุ่นใหม่เข้าใหม่แค่นั้นเอง

การสนับสนุนและความปลอดภัย
รุ่น LTS ที่ออกมานั้นเน้นความเสถียรที่เอื้อต่อการใช้งานยาวๆ อบุนตุรับรองว่าผู้ใช้งานจะได้รับการอัพเดตทั้งเรื่องความปลอดภัยและการแก้ไขข้อขัดข้องในตัวโปรแกรมตลอดเวลา 5 ปี รุ่น LTS ปัจจุบันที่เป็นรุ่น 12.04 LTS (ออกเมื่อปี 2012 เดือน 4) จะได้รับการสนับสนุนจนถึงเมษายนปี 2017 เลยทีเดียว

เมื่อเปรียบเทียบรุ่นปกติจะได้รับการสนันสนุนเพียงแค่ 9 เดือนเท่านั้น การพิจารณาออกรุ่นใหม่จะทำกันทุก 6 เดือน(หลังจากรุ่น 13.04 ก็เป็น 13.10 ไงครับ) นั้นก็หมายความว่าผู้ใช้งาน 13.04 ก็มีเวลาอัพเกรดแค่สามเดือนนับจากรุ่นใหม่อย่าง 13.10 ออกมาให้ใช้งานกัน โดยที่หลังจากนี้แล้วจะไม่ได้รับการสนับสนุนเรื่องการอัพเดตตัวโปรแกรมให้มีความปลอดภัยอีกเลย ก็ควรจะต้องใช้งานรุ่น LTS ซึ่งจะออกเป็นประจำทุกๆ 2 ปี การใช้งานรุ่นนี้จะทำให้ต้องทนใช้งานอยู่อีกสองปีกว่ารุ่นใหม่จะออกมา

รุ่น LTS นี้จะถูกขัดเกลายิ่งขึ้น มีลูกเล่นมากกว่าแต่ว่ายังพัฒนาไม่สุด(ซอย) LTS ใช้การปรับปรุงผ่านตัวมาตรฐาน(ตัวปกติ) คือใช้ตัวมาตรฐานเป็นตัวทดลอง ผลดีที่ได้จะนำไปปรับใช้ในตัว LTS เช่น เวอร์ชั่น 13.04 จะมี Gwibber ที่ใช้งานฝั่งโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพราะว่ามันไม่เสถียร แต่ดูเหมือนว่าจะถูกนำไปใช้งานอีกครั้งในรุ่น LTS (14.04 LTS) เทียบกันแล้วเมื่อใช้งานรุ่นปกติจะใชงานได้เพียง 6-9 เดือน แต่เมื่อเป็นรุ่น LTS จะใช้งานได้ระหว่าง 2-5 ปีเลยทีเดียว


LTS: ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อธุรกิจเสมอไป
ในรุ่นแรกของ Valve’s Steam ได้รองรับ Ubuntu 12.04 LTS เมื่อต้องการเล่นเกมส์รุ่นล่าสุดของลินุกซ์ เวอร์ชั่น LTS ก็ดีพอที่จะใช้งานได้ (ในความเป็นจริงดีกว่ารุ่นไหนๆ อีก) เมื่อ LTS ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ Steam ก็จะยิ่งทำงานได้ดียิ่งขึ้น โปรแกรมต่างๆ ก็จะทำงานได้ดีขึ้นเท่านั้นครับ

อีตาเศรษฐี Mark Shuttleworth พูดอยู่เสมอว่าจะทำการปรับปรุงให้ Unity Desktop รุ่นมาตรฐานสำหรับรุ่น LTS โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่าเราควรใช้ unity 7 กับรุ่น 12.04" ทั้งนี้นักพัฒนาได้เตรียมการปรับปรุงตามคำกล่าวข้างต้นเรียบร้อย

การอัพเกรดไปใช้งานอูบุนตุรุ่นล่าสุด ก็เพียงจะช่วยให้ได้ใช้งานโปรแกรมหรือแอพใหม่บางตัวเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องทีเป็นข้อจำเป็นเท่าไหร่? เหมือนกับการเล่นเกมส์บนลินุกซ์หรือมัลติมิเดีย ถ้าคุณต้องการใช้งานแอพใหม่หรือเกมส์ใหม่ ก็หามาลงผ่านจาก PPA ไม่เห็นต้องลงอูบุนตุรุ่นใหม่เลย


ทำไมบางครั้งถึงต้องใช้งานอูบุนตุรุ่นล่าสุด
ใครกันที่ต้องการอูบุนตุรุ่นใหม่เหล่านี้ เข้าใจว่าคนต้องการเป็นพวกแนวหน้าชอบลองของใหม่ ตามเทรนกันไป หรือเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือแอพ ที่ต้องลองแอพที่สร้าง ถ้ารอตอนที่เป็น LTS จะเกิดปัญหาตามมามาก หรือคนที่ใช้งานเพื่อลองการใช้แอพใหม่ๆ ที่มากับอูบุนตุและน่าจะเป็นคนไม่ชอบความซ้ำซาก จำเจ กับของที่คาดเดาได้เหมือนของเดิมๆ
แต่ถ้าใช้งาน LTS ก็ไม่ต้องอัพเกรดใหม่ทุก 6 เดือนอีกต่อไป


Ubuntu 13.04 อาจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่เท่าไหร่ เพราะว่ามันเป็นวิธีการทำงานของบริษัทผู้พัฒนาอูบุนตุ เราไม่จำเป็นต้องอัพเกรดกันทุก ๆ 6 เดือนหรอกเพราะว่าของที่เราใช้นั้นดีมากพอแล้ว
ถ้าคุณใช้งานอูบุนตุ แล้วจะใช้งานรุ่น LTS หรือจะอัพเดตของใหม่ทุกครั้ง? แล้วแต่คุณล่ะทีนี้

MAPs

วันก่อนได้ลองเขียนแบบ แบบตัวนั้นมันต้องแนบแผนที่สังเขปของโครงการ ลองๆ แล้วก็ใช้ snazzymaps แล้วก็เอามาทำต่อใน inkscape มันก็ออกมาดูได้ระดับห...