วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเขียนเฟืองโซ่ (Sprocket)

   เรียนจบมาหลายปี หนังสือที่พยายามร่ำเรียนกันมาก็พลอยจะลืมเลือน ยิ่งถ้าไม่ได้ใช้บ่อยด้วยล่ะก็ ลืมสนิท เมื่อกลับไปทบทวนยิ่งไม่ค่อยเชื่อเลยล่ะครับว่าครั้งหนึ่งเลยรู้ เคยเรียนมา น่าเสียดายจริง

   ก่อนที่ผมจะลืม วันนี้จะเสนอการเขียนแบบเฟืองโซ่ตามมาตรฐานอเมริกา -ANSI / ASME
แบบใกล้เคียงของจริง ย้ำนะว่าแบบประมาณ.

   โซ่เป็นอุปกรณ์ส่งกำลังทางกลอย่างหนึ่ง คล้ายกับสายพานนั่นแหล่ะ มีลูกเล่นที่เพิ่มรอบหรือลดรอบได้
ratio มากสุดเท่าไหร่ จำไม่ได้ ทำงานด้วยเสียงที่ดังกว่า ต้องการสารหล่อลื่น แต่ส่งกำลังได้มากกว่าสายพาน การไถลไม่มี

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการเขียน ดังนี้
   1.จำนวนฟัน
   2.ขนาดพิตช์
   3.ขนาดโรลเลอร์
อะไรคือ พิตช์ แล้วอะไรคือ โรลเลอร์ อธิบายดังนี้ครับ

พิตช์คือระยะห่างของสิ่งๆ หนึ่งที่มีลักษณะเหมือนกัน อาจจะเป็นยอดเกลียว ยอดเฟือง ยอดฟัน ประมาณนี้ จากรูปคือระยะ P นั่นเอง
 ขนาดโรลเลอร์ คือ ความโตของชิ้นส่วนลูกกลิ้งในแต่ละข้อโซ่ที่ต้องสัมผัสกับเฟืองขณะทำงาน คือ ขนาด R นั่นเอง

สมมติ นะครับว่า จะเขียนเฟือง จำนวน 20 ฟัน ขนาดโซ่เบอร์ ANSI 80
1.จำนวนฟัน 20
2.พิตช์ เท่ากับ 1" หรือ 25.4 mm (1 นิ้วมี 25.4 mm ครับ)
3.โรลเลอร์ขนาด 0.625" หรือ 15.875 mm
ตัวเลขเหล่านี้ได้จากหนังสือคู่มือต่างๆ หาจาก catalog โซ่ก็สะดวกดี เน้นนะครับว่า ANSI หรือ ASME เท่านั้น


มีข้อมูลพร้อม จะลงมือเขียนล่ะทีนี้
1.หามุมระหว่างยอดฟัน โดยใช้มุมของวงกลม 360 องศา แบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆ กัน เท่ากับจำนวนฟัน
อธิบายยืดยาว คือ 360 หาร จำนวนฟัน กดเครื่องคิดเลขก็ 360/20 (ในที่นี้คือ 20 ฟัน)
ได้ตัวเลข 18 องศา หมายถึง แต่ละฟันจะทำมุม 18 องศา เมื่อมี 20 ฟัน ก็ครบวงกลมพอดี

2.ทำเส้นสามเส้น สองเส้นแรกทำมุมกันเท่ากับ มุมระหว่างฟัน ที่คิดไว้ข้อ 1. คือ 18  ส่วนเส้น 3 ทำกึ่งกลางสองเส้นแรก
3.ทำเส้นขนานทั้งสามเส้นนี้ ให้มีระยะห่างเท่ากับระยะพิตช์คือ 25.4 mm ใครใช้ CAD ก็เป็นคำสั่ง Offset นะครับ
3.ที่จุดตัดของสองเส้น ให้เขียนเส้นตรงจากจุดตัดไปยังจุดตัดอีกฝั่งหนึ่ง ปลายเส้นตรงทั้งสองข้าง ให้สร้างวงกลมขนาดเท่ากับโรลเลอร์ คือ 15.875mm จากนั้นทำวงกลมโดยใช้จุดตัดระหว่างเส้นตรงกับรัศมีวงกลมทั้งสองเป็นศูนย์กลาง ทำวงกลมให้มีรัศมีสัมผัสกับวงกลม (วงกลมเส้นสีน้ำเงิน)

4.รูปข้างล่างจะสังเกตุเส้นสีแดง นี่คือรูปฟันจำนวนหนึ่งฟัน ให้ทำการลบเส้นที่ไม่ใช้ออกไป สำหรับ CAD ใช้คำสั่ง trim โดยใช้วงกลมรวมถึงเส้น 1 และ 2 เป็นขอบเขต
5. ทำให้ครบทั้ง 20 ฟัน CAD ใช้คำสั่ง array แบบวงกลม จุดศูนย์กลางอยู่ที่เส้นมุมของ 1 และ 2
6.วาดดุม(hub)ใส่เข้าไป เป็นอันสำเร็จ
*มันจะบาดมือ ต้องทำการตัดยอดฟันออกบ้าง

แถมอีกนิด
รูปแบบดุมจะมีประมาณ 4 แบบ ดังนี้
ส่วนตัวผมโดยมากจะใช้แบบ Type B ซื้อมาแล้วนำไปคว้านสวมเพลาและเซาะร่องลิ่มตามแต่ละอุปกรณ์


ต้องไปทำงานแล้วครับ
คราวหน้าจะเอาวิธีการทำเกียร์มาเล่ากันลืมครับ จบการเสนอ.

7 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้ได้ทบทวนดีครับ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณหลายๆ คับ :))

    ตอบลบ
  3. เขียนตามแล้วระยะพิตช์ไม่เห็นได้ 25.4 เรยครับ ผมผิดตรงไหนครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบพระคุณมากครับผม

    ตอบลบ

MAPs

วันก่อนได้ลองเขียนแบบ แบบตัวนั้นมันต้องแนบแผนที่สังเขปของโครงการ ลองๆ แล้วก็ใช้ snazzymaps แล้วก็เอามาทำต่อใน inkscape มันก็ออกมาดูได้ระดับห...