วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566

STC8H3K64S2

Fig.1 STC8H3k64S2 on bare board.

    ซื้อชิพ STC หลากหลายรุ่นมาลงบอร์ด ราคาชิพตั้งแต่ 0.2 - 1.5USD ( 8 - 60บาท) ของ STC ก็สะดวกดี มี Oscillator ภายในชิพ ใช้ไฟ 5v เอาชิพลงบอร์ดเสร็จก็ต่อไฟใช้ได้เลย

    ตอนเป่าลมร้อน ปรับอุณหภูมิราวๆ 220 - 240 องศาซี แค่นี้ตะกั่วก็เดือดพล่านแล้ว ใช้หัวแร้งก็ได้ ใช้หัวรูปใบมีด ตะกั่วใส่มากก็ไม่ดี ถ้าใส่เกินก็ดูดออกด้วย de-soldering braid tape

    เป็นเรื่องที่ทำแก้เบื่อได้ดี ทำแล้วก็จะงงนิดหน่อยตอนลอง ขาไหนเป็นขาไหน งงไปหมด ก็ดูที่ ISP program ก็ได้ เขาทำมาให้ด้วยนะเออ สะดวกดี

ตอนที่ลองใช้ Port 3 (pin 3.0 - pin3.7)
กำหนดหน้าที่ของ port3 ให้เป็น bi-direction (ดูรายละเอียดใน manual)
    P3M0 = 0x00;
    P3M1 = 0x00;


 


    mcu ของ STC แต่ละรุ่นต้องดูคู่มือให้ดีเพราะแต่ละรุ่นมีจำนวน timer ไม่เท่ากัน และใช้ timer หมายเลขอะไร

    STC8H series น่าใช้งานพอกันกับ STC8G series มีออฟชั่นพอตัว ในราคาที่ไม่สูง การที่มี PCA นั้น จากที่ใช้ประโยชน์อยู่อย่างแรกเลย ก็จะมี timer ไว้ให้เลือกใช้งานมากขึ้น

STC8H summary table

STC8G summary table
         

    ตอนที่หันมาใช้งานแรกๆ ก็ว่ามันก็ไม่ได้ดีไปกว่า Arduino หรอก แล้วก็ใช้งานค่อนข้างยาก ชวนเวียนหัวซะมากกว่า ยามไม่มีอะไรทำ ก็ค่อยมาลองเล่น พอคุ้นเคยแล้ว มุมมองก็ค่อยๆ เปลี่ยน ใช้งานไม่เป็นก็ใช่ว่าจะไม่ดีเสียเมื่อไหร่

    ตามนั้นล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MAPs

วันก่อนได้ลองเขียนแบบ แบบตัวนั้นมันต้องแนบแผนที่สังเขปของโครงการ ลองๆ แล้วก็ใช้ snazzymaps แล้วก็เอามาทำต่อใน inkscape มันก็ออกมาดูได้ระดับห...