วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

8 ตัวเลือกสำหรับ Linux Desktop Environments

   ไม่มีตัวจริงสำหรับ Linux desktop environment ไม่เหมือนคู่แข่งอย่าง Windows  ผู้ใช้งานลีนุกซ์มีทางเลือกที่หลากหลายว่าจะใช้ desktop environments แบบใด แต่ละแบบก็มีข้อสไตล์และจุดแข็งต่างกันไป

สามารถติดตั้งหลังจากการลง OS Linux แล้วสลับไปใช้ ที่หน้า Log in ก็เลือกได้ว่าจะลงรูปแบบไหน อย่างเช่น Ubuntu จะสามารถลงได้ตามใจชอบ มาดูกันครับ ว่ามีแบบใดบ้าง

Unity
ทุกครั้งที่ติดตั้ง Ubuntu แบบมาตรฐาน คุณก็จะได้ Unity เลย Unity คือรูปแบบอะไรประมาณนี้ที่ ลินุกซ์ desktop ควรจะเป็น จริงๆแล้วสำหรับผู้ใช้งานทั้งหลาย คำว่า Unity น่าจะมีความหมายคล้ายกับคำว่า Ubuntu
จากความสามารถที่ค้นหาได้ใน Dash คล้ายกับเครื่องมือค้นหาในโลกออนไลน์ เพื่อเข้าสู่โปรแกรมคล้ายคลึงกับ Taskbar ใน Win7 แต่ Unity มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็น Desktop เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม Unity ยังคงรวบรวมโปรแกรมมาจาก GNOME ซึ่งก่อนมาใช้ Unity shell นั้น Ubuntu ได้ใช้ GNOME มาก่อน (เพิ่งมาแยกทางกัน) จึงมีโปรแกรมอย่างนอติลุทอยู่กับ Ubuntu มาทุกวันนี้

GNOME
เคยเป็นที่นิยมมากในอดีต ตัว GNOME 2.x ยังเคยถูกใช้งานสำหรับ Ubuntu, Fedora, Debian ใช้งานง่าย ไม่หนักเครื่อง แต่หลังจาก GNOME 3 หันมาใช้ GNOME shell interface ของตัวเอง ทำให้ Ubuntu เริ่มแยกทางกัน อาจเป็นเพราะ GNOME 3 ตัดลูกเล่นบางอย่างออก เช่น taskbar ที่เป็นค่าเริ่มต้น อย่างไรก็ดี GNOME 3 ในปัจจุบัน ได้แก้เรื่องนี้แล้ว หน้าตาออกจะคล้าย Unity ครับ
KDE
ในอดีตครั้งหนึ่งเคยโด่งดังเคียงข้างกับ GNOME แต่ KDE มักจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่า GNOME ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหรือลูกเล่น หน้าตาการใช้งานมันคล้ายๆ วินโดว์เล็กน้อย มากกว่าลินุกซ์รุ่นอื่นๆ KDE นี้มาพร้อมกับ task bar อันเดียวอยู่ที่ด้านใต้จอซึ่งรวมเมนู, Notification, นาฬิกา ซึ่งเป็นรูปแบบของวินโดว์รุ่นก่อน Win7
KDE เป็นรุ่นที่เหมาะกับใครที่ชอบการปรับแต่ง KDE 4 มาพร้อมกับ widget ที่หลากหลายและปรับแต่งได้ 
KDE อยู่บนQT toolkit ขณะที่ GNOME และ Unity อยู่ GTK toolki นั่นหมายความว่าเจ้า KDE จะใช้โปรแกรมที่แตกต่างจาก desktop อื่นเขา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมจัดการไฟล์ โปรแกรมดูภาพ และอื่นๆ ซึ่งมีความต่างมากกว่าที่ใช้กับ GNOME หรือ Unity desktop

Xfce
Xfce เป็นตัวที่มีขนาดเล็ก คล้ายกับ GNOME มาก แต่ว่า GNOME 3 ได้พัฒนาไปในเส้นทางที่แตกต่างกัน  ปัจจุบัน Xfce ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือคงความเป็นลินุกซ์เช่นกับ GNOME 2
ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกสำหรับใครที่ต้องการความเป็นอนุรักษ์นิยม ไม่มี graphicหรือ widget อะไรมากมาย นั่นทำให้มันไม่หนักเครื่องครับ เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า  
While Xfce ก็ใช้งาน GTK toolkit ซึ่งรวมโปรแกรมของมันเองอย่างหลากหลาย เช่น โปรแกรมจัดการไฟล์,แก้ไขข้อความ, ดูภาพ อาจจะหาโปรแกรมยากหน่อย
Cinnamon
Cinnamon ถูกพัฒนาเพื่อ Linux Mint โดยใช้ Desktop Environment ของ GNOME 3 มันใช้งานงานไลบารี่และโปรแกรมที่ทันสมัย แต่มันดันมีหน้าตาที่ออกจะโบราณซะงั้น 
เจ้านี่ที่ทันสมัยนำเสนอ graphicและเมนูที่ออกแบบมาอย่างยอดเยี่ยม แต่ยังคงไม่ยอมละทิ้งรูปแบบเดิมๆนั่นคือ Taskbar ,เมนูที่ไม่มีหน้าจอ Full screen ต่อไป 
Linux Mint นี้พยายามผลักดันให้ Cinnamon เป็นหนึ่งใน Desktop Environment ที่นิยมของเขา แต่รู้ไหมครับว่าคุณสามารถติดตั้งและใช้งานมันได้ใน Ubuntu
อย่างที่บอกว่ามันใช้งาน GNOME ซึ่ง Cinnamon ใช้เครื่องมือของ GNOME หลายอัน แต่ก็ยังมีหลายอันที่พวกเขาทำเอง
MATE
MATE เป็นหนึ่งในสาขาของ GNOME 2 แบบดั้งเดิม ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสงวน GNOME 2 ไว้ การอัพเดทอย่างต่อเนื่องทำให้มันเป็นลินุกซ์ distro หนึ่งที่ทันสมัย MATE ยังมีบางลูกเล่นใหม่ๆ แต่เป้าประสงค์หลักของมันคือช่วยให้คนได้ใช้งาน GNOME2 บนลินุกซ์ที่ทันสมัย มันถูกสนับสนุนอย่างเป็นทางการเคียงข้างกับ Cinnamon ใน Linux Mint เลยทีเดียว
ตัวนี้เหมาะสมกับคนที่พลาด GNOME 2 อีกทางหนึ่งนั้นเจ้า Cinnamon อยู่ในฐานะที่น่าจะดีกว่าในอนาคตเพราะมันใช้โปรแกรมที่ใหม่กว่าอย่าง GTK 3
LXDE
ถ้าคิดว่า Xfce ยังไม่เบาพอ ลองตัวนี้ดูครับ มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับเครื่องเก่าๆ หรือเครื่องที่มีทรัพยากรไม่มาก เหมาะกับ Netbooks อะไรทำนองนี้ 
เหมือนกับ Xfce มันก็ใช้งานโปรแกรมเล็กๆ ของมันเองครับ 

Xmonad and More
มี Desktop Environment และ window manager ดีๆ หลายตัวที่คุณควรใช้ซึ่งรวมถึง Xmonad เป็น window manager อันเล็กๆ ไอ้เจ้าตัวนี้มันพยายามทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นโดยการเรียงตัวอัตโนมัติเป็นช่องเล็กๆ ในหน้าจอคอม เป็นตัวอย่างที่ดีนะครับที่พยายามจะทำลินุกซ์ให้แตกต่าง


แล้วหาได้ยังครับ ว่าชอบแบบไหน?

source:howtogeek

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MAPs

วันก่อนได้ลองเขียนแบบ แบบตัวนั้นมันต้องแนบแผนที่สังเขปของโครงการ ลองๆ แล้วก็ใช้ snazzymaps แล้วก็เอามาทำต่อใน inkscape มันก็ออกมาดูได้ระดับห...