วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

11 วิธีการ Search ด้วย google อย่างมืออาชีพ

กูเกิ้ลสุดยอดเครื่องมือ ที่ไม่ได้มีเพียงการค้นหาอย่างเดียว ยังสามารถทำอย่างอื่นได้ด้วย มี 11 กลเม็ดที่คุณควรรู้

ถึงเราจะไม่ใช่ผู้ใช้งานที่ช่ำชอง อย่างน้อยทุกครั้งที่เราค้นหาอยู่นั้นเราก็ใช้งานตัวดำเนินการค้นหา (search operator) อยู่ไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่ง บางตัวไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่เลย มาดูกันครับมีอะไรกันอยู่บ้าง

ค้นด้วยคำตรงตัวหรือวลี
   หนึ่งในเรื่องพื้นๆ และน่าจะรู้กันทั่วไปในการค้นหา กับการค้นหาด้วยคำ ผลการค้นหาก็จะประกอบด้วยคำที่ใส่เข้าไปครับ อย่างต้องการค้นหาคำว่า Hello world ก็จะได้ผลลัพธ์หน้าเวบออกมามีคำว่า Hello และก็ตามด้วย World

ค้นหาและยกเว้นบางคำ
ใช้เครื่องหมายลบ(-) หน้าคำที่ไม่ต้องการให้แสดงผลการค้นหา ยกตัวอย่างเช่น ต้องการโปรแกรมลีนุกซ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่อูบุนตุ ต้องพิมพ์ในช่องสืบค้นอย่างนี้
   linux distributions -ubuntu


การค้นหาภายในเวบไซต์
   การสืบค้นเน้นผลลัพธ์ที่มาจากเวบไซต์ที่ต้องการ ยกตัวอย่างว่าต้องการผลการค้นหาว่า Windows 7 ในเวบ How-To Geek (จะมี site: เป็นตัวดำเนินการ) สามารถพิมพ์ลักษณะนี้ครับ
  site:howtogeek.com windows 7

   แบบเดียวกันนี้ เมื่อต้องการผลลัพธ์ที่ละเอียดหรือเฉพาะเจาะจงถึงแหล่งที่มาของผลลัพธ์ ว่ามาจากชื่อโดเมนนั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน ขอยกตัวอย่างเมื่อต้องการค้นหาข้อมูลที่มาจากโดเมน .ac.th ก็ให้ใส่ว่า site:.ac.th ดูตัวอย่าง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ gear จากโเมน .ac.th
คำที่เกี่ยวข้อง
ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องจะมีตัวดำเนินการ ~ ใส่นำหน้าคำที่ต้องการค้น ไม่เพียงแต่จะรวบถึงผลลัพธ์ที่ประกอบด้วยคำนั้นแล้วยังมีคำเกี่ยวข้องใกล้เคียงเพิ่มเข้ามาด้วย ตัวอย่าง ค้นด้วยคำว่า ~geek
ผลลัพธ์

จะเห็นผลลัพธ์ว่า Linux เป็นคำใกล้เคียงกับคำว่า geek จึงแสดงผลลัพธ์ออกมาด้วย

ใช้อักษรตัวแทน
 มีดอกจัน asterisk (*) เป็นตัวดำเนินการ เช่น ต้องการหาว่าบริษัทกูเกิ้ลได้ซื้อกิจการอะไรบ้างและซื้อด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ ให้ค้นหาแบบนี้
“google purchased * for * dollars”

ช่วงเวลา
ตัวดำเนินการกระทำ จุด จุด .. นี้ ไม่ค่อยเป็รที่รู้จัก เป็นตัวดำเนินการที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น ต้องการค้นหาเกี่ยวกับอูบุนตุ(Ubuntu) ช่วงเวลาปี 2008 ถึงปี 2010 ลองดูผลลัพธ์ของการค้นหาด้วยคำค้นนี้
ubuntu 2008..2010

ประเภทไฟล์
ใช้ตัวดำเนินการ filetype: จะช่วยให้ผลการค้นหาออกมาตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ค้นหาไฟล์ PDF ที่เกี่ยวกับ how to geek จะสามารถค้นโดยใช้คำค้นลักษณะนี้
filetype:pdf how to geek

หนึ่งคำหรือคำอื่น
ตัวดำเนินการ OR จะช่วยให้ผลลัพธ์ที่ค้นหาได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ผลที่ได้ประกอบด้วยคำที่ใส่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งหรืออาจจะประกอบด้วยอีกคำก็ได้ หรือว่าอาจจะออกมาพร้อมกันทั้งสองเลย อย่างเช่นตัวอย่างเป็นการสืบค้นหาข้อมูล Ubuntu หรือ Linux ผลที่ได้จะออกมาทั้ง Ubuntu หรือ Linux หรือมาทั้งสองก็ได้ เน้นนะครับว่า OR ต้องเขียนเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เท่านั้น
คำค้น
ubuntu OR linux

หานิยามหรือความหมายคำ
ถ้าเมื่อไหร่ที่ต้องการค้นหาคำนิยาม ความหมายของคำ ไม่จำเป็นต้องเปิดหาดิกชั่นนารี่เลยครับ กูเกิ้ลเลยครับ คำตอบคำค้นจะออกมาเลย โดยมีตัวดำเนินการ define: ยกตัวอย่างจะลองหาความหมายของคำว่า word เพียงใช้ตัวดำเนินการตามคำค้น ลองดูผลลัพธ์ครับ
   define:word

เครื่องคิดเลข
เมื่อต้องการคิดเลขหรือการคำนวณอื่นๆ กูเกิ้ลก็เตรียมมาให้ เพียงแต่ต้องใช้ตัวดำเนินการเป็นสัญลักษณ์ +, -, *, / เพียงเท่านี้ ก็จะผลการคิดคำนวณเพื่อนำไปใช้งานต่อไปได้ มาดูตัวอย่างกัน
ผลการคิดเลข จะขึ้นมาเป็นหน้าตาเครื่องคิดเลข พร้อมทั้งคิดตรีโกณได้ด้วย
2* 3+9

เครื่องมือแปลงหน่วย
นอกจากคิดเลขได้แล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือแปลงหน่วยได้ด้วยครับ การใส่ข้อมูลต้องใส่ดังนี้
   จำนวน [หน่วย] in [หน่วย]    มาดูตัวอย่าง
2 inch in mm

เมื่อนำตัวดำเนินการมาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก ให้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มข้อมูลที่ต้องการ อยากจะค้นหาที่เวบไซต์ใดเวบไซต์หนึ่ง ด้วยรูปแบบไฟล์ PDF  ที่สร้างในระหว่างปี 2550 ถึงปี 2556 ที่รวมข้อความบางอย่างแต่ไม่รวมวลีหรือประโยคบางอย่าง นี่คือเครื่องมือที่ทรงพลังจริงๆครับ จะมีอะไรที่ดีกว่านี้ คงยากหน่อยครับ

source: howtogeek

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลอง Ubuntu Touch หรือยัง?

วันนี้จะขอแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน Ubuntu Touch


ผมเองมีโทรศัพท์ Nexus4 อยู่อันหนึ่ง หาซื้อมาจาก AOB  มาบุญครอง ตามข่าวเรื่อง Ubuntu touch มาระยะหนึ่ง เกิดความอยากทดลองขึ้นมาจับจิต
แม้ว่ามันจะเงียบหายไปเพราะมัวแต่ไประดมทุนทำ hi-end  mobile อย่าง Ubuntu edge ซึ่งท้ายที่สุดจะล้มแผนงานไปเพราะยอดเงินไม่ถึงเป้า


   เจ้า OS ตัวนี้ออกมานานแล้วให้นักพัฒนาได้ทดลองใช้งานกัน ในที่สุด Ubuntu touch Version 1.0 (Stable Version) ก็เปิดตัวในวันที่ 17/10/2556 ที่ผ่านมา
   รุ่งขึ้นถือโอกาสทดลองเลย ขั้นตอนแรกทำการเตรียมเครื่องคอม Ubuntu ให้มีเครื่องมือที่สามารถลงโปรแกรมได้ (ขั้นตอนนั้นสามารถดูที่ Install Ubuntu Touch )
   ก่อนที่ท่านจะลองอย่าลืม back up ข้อมูลที่จำเป็นในโทรศัพท์ไว้ก่อน เช่น รูปภาพ
โหลดโปรแกรมของ Andriod ไว้เก็บไว้ด้วยเป็น code name:occam

ขั้นตอนการลงก็ประมาณนี้ครับ

   sudo add-apt-repository ppa:phablet-team/tools

ผมทำไม่ได้ตามนี้ แต่ได้ใช้คำสั่งนี้แทน

   deb http://ppa.launchpad.net/phablet-team/tools/ubuntu [dist-codename] main
   deb-src http://ppa.launchpad.net/phablet-team/tools/ubuntu [dist-codename] main

ไอ้ตรง [dist-codename] คือ Ubuntu ท่านเป็นรุ่นอะไร ให้เปลี่ยนด้วยครับ ของผมใช้งาน raring  ของท่านอาจ precise, quantal หรือ saucy

ยังติดปัญหาที่ไม่สามารถเพิ่มได้อีก
ให้ท่านลองนี่ครับ  text editor nano

   sudo nano

จัดการเพิ่มให้เรียบร้อย เสร็จแล้วตามด้วย

   sudo apt-get update
   sudo apt-get install phablet-tools android-tools-adb android-tools-fastboot

ที่มือถือให้ทำการ unlock ต่อสาย usb
อย่าลืมเปิด USB debugging mode ด้วย

ถึงคำสั่ง flash rom ซะทีตามนี้เลย

   phablet-flash ubuntu-system --channel devel --no-backup

ไปหากาแฟกินก่อนครับ นานเอาเรื่องอยู่ ท้ายที่สุดแม้ว่าหน้าจอจะแสดง error บางอย่าง แต่ผมก็สามารถใช้งาน Ubuntu touch ได้ครับ มาดูกันว่ามาช่วยอะไรผมได้บ้าง

   1. โทรออก-รับสายได้
   2. มันใช้งาน internet ผ่าน WIFI เท่านั้น
   3. มีแอพไม่กี่แอพ มี Gmail พอเปิดก็คล้ายว่าพาเข้า browser
   4. ไม่มีภาษาไทยให้ใช้
   5. เมื่อท่านใส่รหัส WIFI ผิด นอกจากจะไม่สามารถ connect ได้ ยังมองไม่เห็น  WIFI ตัวอื่นอีกเลย เวรกรรมจริงๆ แก้ก็ไม่ได้ ดันมองไม่เห็น WIFI ตัวอื่นที่มาด้วยกันอีก

การลง android กลับคืนนั้น ผมทำตามคำสั่งที่บอกไว้ แต่ก็ทำไม่ได้ นี่คือคำสั่งที่ว่าครับ

   adb reboot-bootloader
   ./flash-all.sh

ผมหันไปใช้เครื่องมือ จาก XDA เป็น Nexus 4 toolkit ต้องทำในวินโดว์



  บทสรุป ก็คือ ไม่มีอรรถประโยชน์อันใดเลยนอกจากตอบสนองความต้องการว่าเป็น Ubuntu ยังห่างไกลกับการใช้งานประจำวันของผมมาก ต้องรอการพัฒนามากกว่านี้ ว่าแล้วกลับไปใช้แอนดรอยด์ต่อดีกว่าครับ

Many Thanks to Mark mskip XDA forum.

ต้องการเบิร์นแผ่นทุกอย่างไช่ไหม? ลองนี่เลยสำหรับ Ubuntu/Linux Mint

ติดตั้ง Silicon Empire และ K3b Burner ลงใน Ubuntu/Linux Mint รวมถึง Ubuntu derivatives ตัวอื่นๆ

เดี๋ยวนี้อูบุนตุมีแอพฯ สำหรับเขียนแผ่น Blu-ray แล้วนะครับ ก่อนหน้านี้แอพฯ Brasero เป็นแอพพื้นฐานที่มากับอูบุนตุ แต่ผมยังไม่ได้ลองกับแผ่น Blu-ray แต่ตอนนี้ขอแนะนำแอพ K3b และ Silicon Empire burners ซึ่งทำงานออกได้ดี สองแอพนี้จะว่าไปแล้วทำงานได้ทุกอย่าง อย่างที่แอพอย่าง Nero มันทำได้ครับ เรามาดูกันทีละตัว

1) Silicon Empire Burner

Silicon Empire เป็นเซตของเครื่องมือที่ใช้เบิร์น, คัดลอก, สำรอง, จัดการและเพื่อออพติคอลดิสค์ของคุณอย่าง CDs, DVDs และก็ Blu-Rays เมื่อเริ่มทำงานด้วยแอพนี้จะรู้สึกว่ามันทำงานง่าย เร็วด้วยคุณภาพที่สูง จะเบิร์น(เขียนแผ่น), คัดลอก, Mount ดิสค์ ด้วยการคลิกไม่กี่ที ในเวลาอันรวดเร็ว



มี Features ดังนี้:
Cdrtools Burn Engine
MySQL Database
Qt4 Cross Platform 
Hardware Abstract Layer
Image Mounter
Multimedia System
Animated User Interface
Drag & Drop
Burn and Copy Optical Discs

สามารถติดตั้งได้ใน Ubuntu 13.10/13.04/12.10/12.04/Linux Mint 15/14/13 เปิด Terminal (กด Ctrl+Alt+T) และคัดลอกคำสั่งนี้:

   sudo add-apt-repository ppa:noobslab/apps
   sudo apt-get update
   sudo apt-get install silicon-empire

2) K3b Burner

K3b เป็นแอพที่ง่ายต่อการใช้เขียนแผ่นซีดีและดีวีดี คัดลอกแผ่น ลดขนาดและอีกมากสำหรับ Linux โดยปกติจะเข้ากันได้ดีกับ KDE แต่ว่าก็ยังทำงานได้กับทุก desktop environment (ทั้ง GNOME, Unity) แอพ K3b ถูกสร้างมาจากภาษา C++ และ Qt GUI  แอพนี้สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น CDs ที่รองรับ OS Linux, Windows, DOS, ไฟล์ UDF, Linux/Unix + Windows, Rock Ridgeและระบบไฟล์ Joliet
ขั้นตอนการเขียนแผ่น Blu-ray ตามนี้
Settings > Configure K3b > Advanced > check Show advanced GUI Elements
Settings > Configure K3b > Programs อย่าลืมคลิกเลือก cdrecord
เลือก cdrecord ใน Writing app
เลือก No Multisession ใต้แถบ Misc
มี Features ดังนี้
Data CD/DVD burning
Audio CD burning
CD Text support
Blu-ray/DVD-R/DVD+R/DVD-RW/DVD+RW support
CD-R/CD-RW support
Mixed Mode CD (Audio and Data on one disk)
Multisession CD
Video CD/Video DVD authoring
eMovix CD/eMovix DVD
Disk-to-disk CD and DVD copying
Erasing CD-RW/DVD-RW/DVD+RW
ISO image support
Ripping Audio CDs, Video CDs, Video DVDs

ติดตั้งได้ใน Ubuntu 13.10/13.04/12.10/12.04/Linux Mint 15/14/13 เปิด Terminal (กด Ctrl+Alt+T) ตามด้วยคำสั่งนี้ครับ:

   sudo add-apt-repository ppa:brandonsnider/cdrtools
   sudo apt-get update
   sudo apt-get install k3b cdda2wav cdrecord mkisofs smake

นั่นแหล่ะครับ


source: noobslab

8 ตัวเลือกสำหรับ Linux Desktop Environments

   ไม่มีตัวจริงสำหรับ Linux desktop environment ไม่เหมือนคู่แข่งอย่าง Windows  ผู้ใช้งานลีนุกซ์มีทางเลือกที่หลากหลายว่าจะใช้ desktop environments แบบใด แต่ละแบบก็มีข้อสไตล์และจุดแข็งต่างกันไป

สามารถติดตั้งหลังจากการลง OS Linux แล้วสลับไปใช้ ที่หน้า Log in ก็เลือกได้ว่าจะลงรูปแบบไหน อย่างเช่น Ubuntu จะสามารถลงได้ตามใจชอบ มาดูกันครับ ว่ามีแบบใดบ้าง

Unity
ทุกครั้งที่ติดตั้ง Ubuntu แบบมาตรฐาน คุณก็จะได้ Unity เลย Unity คือรูปแบบอะไรประมาณนี้ที่ ลินุกซ์ desktop ควรจะเป็น จริงๆแล้วสำหรับผู้ใช้งานทั้งหลาย คำว่า Unity น่าจะมีความหมายคล้ายกับคำว่า Ubuntu
จากความสามารถที่ค้นหาได้ใน Dash คล้ายกับเครื่องมือค้นหาในโลกออนไลน์ เพื่อเข้าสู่โปรแกรมคล้ายคลึงกับ Taskbar ใน Win7 แต่ Unity มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็น Desktop เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม Unity ยังคงรวบรวมโปรแกรมมาจาก GNOME ซึ่งก่อนมาใช้ Unity shell นั้น Ubuntu ได้ใช้ GNOME มาก่อน (เพิ่งมาแยกทางกัน) จึงมีโปรแกรมอย่างนอติลุทอยู่กับ Ubuntu มาทุกวันนี้

GNOME
เคยเป็นที่นิยมมากในอดีต ตัว GNOME 2.x ยังเคยถูกใช้งานสำหรับ Ubuntu, Fedora, Debian ใช้งานง่าย ไม่หนักเครื่อง แต่หลังจาก GNOME 3 หันมาใช้ GNOME shell interface ของตัวเอง ทำให้ Ubuntu เริ่มแยกทางกัน อาจเป็นเพราะ GNOME 3 ตัดลูกเล่นบางอย่างออก เช่น taskbar ที่เป็นค่าเริ่มต้น อย่างไรก็ดี GNOME 3 ในปัจจุบัน ได้แก้เรื่องนี้แล้ว หน้าตาออกจะคล้าย Unity ครับ
KDE
ในอดีตครั้งหนึ่งเคยโด่งดังเคียงข้างกับ GNOME แต่ KDE มักจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่า GNOME ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหรือลูกเล่น หน้าตาการใช้งานมันคล้ายๆ วินโดว์เล็กน้อย มากกว่าลินุกซ์รุ่นอื่นๆ KDE นี้มาพร้อมกับ task bar อันเดียวอยู่ที่ด้านใต้จอซึ่งรวมเมนู, Notification, นาฬิกา ซึ่งเป็นรูปแบบของวินโดว์รุ่นก่อน Win7
KDE เป็นรุ่นที่เหมาะกับใครที่ชอบการปรับแต่ง KDE 4 มาพร้อมกับ widget ที่หลากหลายและปรับแต่งได้ 
KDE อยู่บนQT toolkit ขณะที่ GNOME และ Unity อยู่ GTK toolki นั่นหมายความว่าเจ้า KDE จะใช้โปรแกรมที่แตกต่างจาก desktop อื่นเขา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมจัดการไฟล์ โปรแกรมดูภาพ และอื่นๆ ซึ่งมีความต่างมากกว่าที่ใช้กับ GNOME หรือ Unity desktop

Xfce
Xfce เป็นตัวที่มีขนาดเล็ก คล้ายกับ GNOME มาก แต่ว่า GNOME 3 ได้พัฒนาไปในเส้นทางที่แตกต่างกัน  ปัจจุบัน Xfce ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือคงความเป็นลินุกซ์เช่นกับ GNOME 2
ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกสำหรับใครที่ต้องการความเป็นอนุรักษ์นิยม ไม่มี graphicหรือ widget อะไรมากมาย นั่นทำให้มันไม่หนักเครื่องครับ เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า  
While Xfce ก็ใช้งาน GTK toolkit ซึ่งรวมโปรแกรมของมันเองอย่างหลากหลาย เช่น โปรแกรมจัดการไฟล์,แก้ไขข้อความ, ดูภาพ อาจจะหาโปรแกรมยากหน่อย
Cinnamon
Cinnamon ถูกพัฒนาเพื่อ Linux Mint โดยใช้ Desktop Environment ของ GNOME 3 มันใช้งานงานไลบารี่และโปรแกรมที่ทันสมัย แต่มันดันมีหน้าตาที่ออกจะโบราณซะงั้น 
เจ้านี่ที่ทันสมัยนำเสนอ graphicและเมนูที่ออกแบบมาอย่างยอดเยี่ยม แต่ยังคงไม่ยอมละทิ้งรูปแบบเดิมๆนั่นคือ Taskbar ,เมนูที่ไม่มีหน้าจอ Full screen ต่อไป 
Linux Mint นี้พยายามผลักดันให้ Cinnamon เป็นหนึ่งใน Desktop Environment ที่นิยมของเขา แต่รู้ไหมครับว่าคุณสามารถติดตั้งและใช้งานมันได้ใน Ubuntu
อย่างที่บอกว่ามันใช้งาน GNOME ซึ่ง Cinnamon ใช้เครื่องมือของ GNOME หลายอัน แต่ก็ยังมีหลายอันที่พวกเขาทำเอง
MATE
MATE เป็นหนึ่งในสาขาของ GNOME 2 แบบดั้งเดิม ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสงวน GNOME 2 ไว้ การอัพเดทอย่างต่อเนื่องทำให้มันเป็นลินุกซ์ distro หนึ่งที่ทันสมัย MATE ยังมีบางลูกเล่นใหม่ๆ แต่เป้าประสงค์หลักของมันคือช่วยให้คนได้ใช้งาน GNOME2 บนลินุกซ์ที่ทันสมัย มันถูกสนับสนุนอย่างเป็นทางการเคียงข้างกับ Cinnamon ใน Linux Mint เลยทีเดียว
ตัวนี้เหมาะสมกับคนที่พลาด GNOME 2 อีกทางหนึ่งนั้นเจ้า Cinnamon อยู่ในฐานะที่น่าจะดีกว่าในอนาคตเพราะมันใช้โปรแกรมที่ใหม่กว่าอย่าง GTK 3
LXDE
ถ้าคิดว่า Xfce ยังไม่เบาพอ ลองตัวนี้ดูครับ มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับเครื่องเก่าๆ หรือเครื่องที่มีทรัพยากรไม่มาก เหมาะกับ Netbooks อะไรทำนองนี้ 
เหมือนกับ Xfce มันก็ใช้งานโปรแกรมเล็กๆ ของมันเองครับ 

Xmonad and More
มี Desktop Environment และ window manager ดีๆ หลายตัวที่คุณควรใช้ซึ่งรวมถึง Xmonad เป็น window manager อันเล็กๆ ไอ้เจ้าตัวนี้มันพยายามทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นโดยการเรียงตัวอัตโนมัติเป็นช่องเล็กๆ ในหน้าจอคอม เป็นตัวอย่างที่ดีนะครับที่พยายามจะทำลินุกซ์ให้แตกต่าง


แล้วหาได้ยังครับ ว่าชอบแบบไหน?

source:howtogeek

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Evolve GTK theme Install in Ubuntu/Linux Mint/other Ubuntu derivatives (GTK + XFCE)

ติดตั้ง Evolve theme ใน Ubuntu 13.10 Saucy/Ubuntu 13.04 Raring/12.10 Quantal/12.04 Precise/Ubuntu 11.10 Oneiric/Linux Mint 16/15/14/13/12 (GTK 3 + XFCE)

Evolve เป็น light theme ที่เรียบง่ายและกระชับ อออกแบบให้ง่ายดูต่อการใช้สายดู รองรับDesktop ที่หลากหลาย เช่น Unity, Cinnamon, Gnome Shell, Mate, Pantheon and Xfce ทั้งนี้ Evolve theme นั้นใช้งานได้กับ GTK 3.10/3.8/3.6/3.4/3.2 และ GTK 2 ด้วย murrine engine และยังมี theme สำหรับ Xfce ผมว่าเหมาะสำหรับการใช้งานประจำวัน สามารถใช้เครื่องมือ Unity Tweak Tool, Gnome-tweak-tool หรือ Ubuntu-Tweak ในการเปลี่ยน theme นี้
screenshots ที่เห็นนี้ ใช้คู่กับ Malys-Uniblue




วิธีการติดตั้ง Evolve theme บน Ubuntu/Mint เปิด Terminal (Press Ctrl+Alt+T) และตามด้วยคำสั่งนี้:
Terminal Commands:
   sudo add-apt-repository ppa:satyajit-happy/themes
   sudo apt-get update
   sudo apt-get install evolve-gtk-theme

นั่นแหล่ะครับ

source:noobslab

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Cannot boot into Ubuntu

คอมพิวเตอร์ที่ผมใช้งานเป็นแบบ dual boot ใช้ Ubuntu คู่กับ Win7 ตอนลง Ubuntu ก็ไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร ให้พื้นที่แค่ 5 GB. คอมฯผมแบ่งไว้สอง Drive คือ C และ D ลงโดยใช้ Wubi เอาไว้ใน Drive:D ใช้งานไปแล้วลงโปรแกรมเพิ่ม มันก็เตือนว่า Low Disk area ให้นึกรำคาญ อย่าเลยจัดการมันดีกว่า จัดการที่ฝั่ง Win7 โดย shrink volume ของ drive:D กะว่าจะสร้าง partition แยกต่างหาก แบบว่าหาที่อยู่ให้มันใหม่ใหญ่กว่าเดิม อิอิ ทำการshrink เสร็จแล้วเกิดเปลี่ยนใจ จะขยาย drive:C แล้วเอามันไปไว้ด้วยกัน จึงย้าย drive:D ไปทางขวา(นานมาก) เสร็จแล้วตามด้วยขยาย drive:c ทุกอย่างเกือบสมบูรณ์ แต่เมื่อถึงขั้นตอนขยาย drive c พบ error ปิด-เปิดเครื่องลอง boot เข้า Ubuntu ก็ไม่ได้ ทำไงดี? เศร้าจริงๆ มันแสดงข้อความ " ubuntu\winboot\wubildr.mbr missing or corrupt, status 0xc000000e "
ค้นหาข้อมูลจึงรู้ว่า OS เก็บไว้ใน directory /host/Ubuntu/disks/root.disk เมื่อ shrink ลด-ขยาย partition size จะทำให้ boot เข้า Ubuntu ไม่ได้ มันคงหา bootloader ไม่เจอ งานเข้าล่ะ

ไปค้นหาและทดลองจนแก้ได้ ให้ทำดังนี้ครับ
1.เพิ่ม Wubiเข้าไปใน Windows Boot Loader ด้วยโปรแกรม EasyBCD
2.เพิ่มใหม่ ตั้ง Type:Wubi,  Name:Ubuntu
3.แก้ไขข้อมูลการบูท ทำใน Command prompt(Cmd) เปิดแบบ Run as admin
4.ที่ Cmd ให้ใส่คำสั่ง
                   bcdedit  จะแสดงข้อมูล ID
คำสั่งที่ใช้ในการตั้งค่า ดังนี้

   bcdedit /set {device_id} partition=X:

ลง Ubuntu ไว้ใน drive ไหนลง Partition นั้นครับ จากตัวอย่างเป็น drive:E

5.สุดท้ายเพิ่ม path ไปยัง ubuntu install ของเราซึ่งควรจะเป็น  \ubuntu\winboot\wuildr.mbr ใชคำสั่งนี้ครับ

   bcedit /set {device_id} path \your_ubuntu_path\winboot\wubildr.mbr

ที่ขีดเส้นใต้แก้ให้ตรงกับของท่าน
สรุป
ครั้งหน้าถ้าเกิดปัญหานี้ ก็ลองคัดลอก Ubuntu files ไปคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แล้วทำตามขั้นตอนนีก็จะสามารถใช้งานต่อได้ เน้นอย่างเดียวคือต้องเป็น Wubi installor.
---End---


Credit to howtogreek

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการวาดเฟืองเกียร์ (How to draw spur gear)

วันนี้จะเสนอแนะวิธีการเขียนเฟืองเกียร์

สมัยเรียนได้เรียนเขียนแบบ ท้ายคาบต้องทำ plate ส่งอาจารย์
ใครไม่ตั้งใจเรียนล่ะก็เป็นอันเสร็จ..
งานที่จะส่งท้ายคาบก็ต้องทำบนข้อจำกัดของเวลา เคยทำเฟืองออกมาแล้วมันเบี้ยวพิลึก
เพื่อนทักก็ไม่ฟัง มันว่างี้

"แกน่ะผิดแล้ว ดูของข้าซิ ต้องแก้นา"

เราก็ไม่ฟัง "เออผิด ก็มือข้า ความคิดข้า ข้าคิดออกมาได้แบบนี้นี่นา จะอธิบายใครก็ได้"

แต่ลอกของแก ข้าจะอธิบายคนอื่นอย่างไร ว่าทำไมต้องมีรูปแบบนี้ แล้วทำตามแกจะทันส่งเหรอเนี่ย

เหตุผลที่ผมได้คะแนน 5 เต็ม 10 คือ การเขียนเกียร์ต้องคำนวณขนาดฟัน Addendum, Dedendum ฯลฯ คิดออกมาได้ตัวเลขมันออกแบบนี้ ก็เลยเขียนมันแบบนี้ อาจารย์ก็ให้คะแนนแบบนี้ แต่ไม่ยอมลอกเพื่อน(ที่หวังดี)
ชิ้นงานนั้นผมยังเก็บไว้ เอามาให้ดูกันครับ ว่าพิลึกจริงๆครับ
วันนั้นส่งหลายอัน

การวาดเกียร์มี 3 แบบ
   1.True representation
   2.Approximate representation (ครั้งหน้าจะมานำเสนอง่ายและเร็ว)
   3.Detail representation

รูปร่างฟันเกียร์นั้นมีทั้งแบบ Cycloidal curve และ involute curve รายละเอียดลองค้นหาเพิ่มเติมเอา
จะขออธิบายวิธีการสร้างเฉพาะ involute curve แบบให้เห็นภาพ นิยามทางคณิตศาสตร์คงไม่ต้องนะครับ

หาอุปกรณ์ 4 อย่างนี้
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.กระบอกกลมๆ 1 อัน เอาเป็นปลากระป๋อง ก็ได้
4.ด้าย-เชือก

นำด้ายมัดไว้กับดินสอ แล้วนำไปพันเข้ากับกระป๋อง แค่รอบเดียวก็พอ จนดินสออยู่ติดข้างกระป๋อง
นำกระป๋องที่มีดินสอติดข้างอยู่ไปวางบนกระดาษ จากนั้นค่อยๆ ดึงเอาดินสอออกห่างจากกระป๋องโดยเชือกต้องตึงเสมอ รอยวาดที่เกิดจากดินสอนี่ละครับคือ involute curve
เกรงว่าท่านจะสับสน ผมเน้นเรื่อง technical drawing จะวาดเกียร์ตามข้อมูลที่มีนะครับ ไม่ใช่การออกแบบเกียร์ (machine design)ซึ่งต้องหาขนาดเกียร์ ใหญ่โตแค่ไหน จะรับโหลดได้เท่าไหร่ ratio เท่าไหร่ นั่นเป็นอีกเรื่อง เมื่อมีข้อมูลโมดูล, จำนวนฟัน ก็วาดได้ แต่อย่างน้อยควรจะต้องรู้ชื่อเรียกส่วนต่างๆของเกียร์
ส่วนชื่อเรียกส่วนต่างๆ ของเกียร์ตามรูปนี้
สูตรการคำนวณ เกี่ยวกับเฟืองเกียร์

อธิบายไป อาจเสียเวลา ลองวาดดูนะครับ เป็นหน่วยเมตริก

สมมติว่าเฟืองมีขนาดโมดูล 2.5 จำนวน 20 ฟัน
1.จะมีมุมระหว่างฟันเท่ากับ 18 องศา (มาจาก 360/20 นั่นเอง)
2.มีขนาด pitch diameter เท่ากับ 2.5x20 = 50 mm เริ่มวาดที่วงกลมพิตช์ก่อนเลย ขนาดเท่ากับ 50 mm

3.ทำเส้นตรงสัมผัสกับวงกลมที่ด้านบนสุดและอีกเส้นเอียงทำมุม 20 องศา ที่ 20 องศานี้ gear จะทำงานได้ราบเรียบ ซึ่งเส้นนี้เรียกว่า "Pressure Angle" เป็นแนวกดของฟันและฟันจะสัมผัสกันที่วงกลมพิตช์ มีทั้ง 14.5, 20, 22.5 (ไม่นิยม) และ 25  องศา (22.5, 25 สำหรับรับโหลดสูงๆ) จากนั้นวาดวงกลมมีรัศมีสัมผัสกับเส้นมุมกด วงกลมที่ได้เรียกว่า "Base circle"เรียกว่าวงกลมฐาน ซึ่ง involute curve จะถูกวาดจากวงกลมนี่แหล่ะครับ
4.ทำเส้นตรงที่จุดบนสุด 1 เส้น ผมลองกำหนดให้ยาว 20 mm จุดเริ่มต้นของเส้นอยู่บนสุดของวงกลมฐาน แบ่งเส้นเป็นระยะเท่าๆกัน ตัวอย่างนี้เพื่อให้ง่ายผมใช้ 2 มม.
ใน CAD ผมใช้คำสั่ง Divide และกำหนดให้จุดถูกแสดงเป็นรูปแบบกากบาท พร้อมกับตั้งให้ snap ที่จุดด้วย
ใครที่งงอยู่เขียนเส้นตรงต่อกันก็ได้ 10 เส้น ๆ ละ 2 มม. ก็ไม่ผิด เราจะใช้ประโยชน์จากจุด End point ของเส้นที่ทำนี้

5.จากนั้นให้ทำการแบ่งวงกลมฐานระยะเดียวกันกับที่แบ่งไว้เมื่อครู่นี้ ย้ำว่าต้องเท่ากัน ผมกำหนดไว้ที่ 2 มม. โดยการวาดวงกลมมีศูนย์กลางที่จุดบนสุดวงกลมฐาน
6.ที่จุดตัด เน้นว่าจุดตัดนะครับ ให้เริ่มเขียนเส้นตรงจากจุดนี้ไปสู่ศูนย์กลางวงกลมฐาน ดังรูป แล้ววัดค่ามุมออกมา วิธีนี้จะคลาดเคลื่อน 0.0303 %  ตรงนี้ยากหน่อย
มีสองทางเลือกครับ 1.) ต้องตั้งค่าวัดในเครื่องมือให้ละเอียดหน่อย 2.) ใช้การคำนวณครับ
มาดูกันล่ะทีนี้
   1.) ไปตั้งค่าที่ Format >Dimension style>Angular dimension เลือก Precision สูงๆ หน่อย (คำสั่งลัดพิมพ์ D กด Enter)
   2.) วิธีคิดคำนวณ ให้วัดเส้นรอบวงฐาน CAD ใชคำสั่ง getproperties (คำสั่งลัดพิมพ์ gp กด Enter) เลือกวงกลมที่ต้องการ จะแสดงค่าเส้นรอบวง 147.6066 จากนั้น หารค่านี้ด้วยระยะที่ใช้แบ่งเส้นตรง คือ 2 นั่นเอง (หรือค่าที่ท่านกำหนดเอง)
   147.6066 / 2 มีค่า 73.8033 หมายถึงเส้นรอบวงแบ่งออกเป็นระยะเท่าๆกันจะได้ 73.803 ชิ้น
   นำค่านี้ไปใช้งานต่อ ก็วงกลมมี 360 องศา จะแบ่งออกเป็น 73.8033 ส่วน จะได้ส่วนละ 360/73.8033 เท่ากับ 4.8778
 
หน้าตาผลลัพธ์ที่ได้

ตอนผมเขียนด้วยมือต้องทำการแบ่งเส้นวงกลมฐานออกไปเรื่อยๆ ทำเส้นสัมผัส วัดหาจุดตัดเส้นสัมผัสเพื่อทำ involute curve ประมาณนี้
 แต่ตอนนี้เราสะดวกมากเพราะใช้ CAD เราก็ทำ Array มันเลย 
8.ทำการคัดลอกโดย Array มัน เป็นมุมเ่ท่ากับที่คิดออกมาก่อนหน้านี้ คือ 4.8778 หรือจากที่วัดก็ได้
9.วาดเส้น spline ผ่านจุดตัดเส้นสัมผัส เส้นที่เป็นสีชมพูนั่นไงครับ

ตอนนี้ได้ involute curve แล้ว
10.เฟืองจะมีความหนา(Tooth thickness) ระบุได้ประมาณนี้ คือ
   circular thickness ความหนาวัดตามเส้นโค้งวงกลม
   chordal thickness ความหนาวัดเป็นเส้นตรง จะใช้วิธีนี้ ต้องคำนวณนิดหน่อย
สูตรการคิดตามตารางดังนี้ Pitch Diameter x sin(90/N)
แทนค่ากันดู PD = 50 mm และ sin (90/ 20) = 0.078459096
ผลลัพธ์ 50 x 0.078459096 เท่ากับ 3.922954786 จดใส่กระดาษไว้
กลับไปที่แบบ ให้เขียนวงกลมศูนย์กลางอยุ่ที่จุดตัดของเส้นรูปฟันกับวงกลมพิตช์ (ตรงที่เป็นสีเขียว)รัศมีเท่ากับ chordal thk. ที่คิดไว้เมื่อกี้นี้ (3.922954786 mm)
ที่จุดตัดให้ลากเส้นตรงจากจุดตัดไปยังศูนย์กลางวงกลม เขียนเส้นตรงจากกึ่งกลางเส้นตรง ไปยังศูนย์กลางเกียร์ (ทั้งสองเส้นแสดงด้วยสีแดง) จากนั้นทำการ Mirror เส้นรูปฟัน (involute curve) โดยใช้เส้นแบ่งครึ่งเป็นแกนในการ mirror 
11.ขั้นตอนนี้จะหาความลึก-ความสูงของฟัน ต้องคำนวณอีกแล้ว หาขนาด Addendum และ whole depth จากสมการในตาราง
Addendum = module  เท่ากับโมดูล ซึ่งตัวอย่างนี้มีค่า 2.5 mm
Whole depth = 2.157 x module แทนค่าเลย 2.157 x 2.5 ได้เท่ากับ 5.3925 mm
นำข้อมูลนี้ไปวาดลงในแบบ ระวังนะครับ ต้องวัดออกจากวงกลมพิตช์เท่านั้น!
เส้นสีเขียว Addendum จะห่างกับ pitch circle เท่ากับ 2.5 mm (แนะนำให้ใช้คำสั่ง Offset)
เส้นสีน้ำเงิน whole depth ห่างกับ addendum เท่ากับ 5.3925 mm (แนะนำให้ใช้คำสั่ง Offset เช่นกัน)
วาดเส้นเชื่อมเข้ากับโคนฟัน ในแนวรัศมีวงกลม (เส้นชมพู)
12.ลบมุมที่โคนฟันออก
ใช้สูตรคิดขนาด Fillet R = 1.33 x 0.157 x module ที่ขีดเส้นใต้ไว้คือ Clearance ครับ
แทนค่า 1.33 x 0.157 x 2.5 = 0.522 mm
ทำ fillet R = 0.522 (ค่าได้จากการคำนวณ)
 ตัดเส้นที่ไม่ใช้ออก ใช้คำสั่ง trim
แต่งให้สมบูรณ์ ลบเส้นออก ทำเส้นรูปฟัน(tooth profile)ให้ครบ จำนวน 1 ฟัน เพื่อการ array ต่อไป
13.สุดท้าย ทำการคัดลอกแบบ Array polar-circular จะได้รูปเฟืองเต็มๆ ครับ
ที่เหลือก็ใส่ดุม ทำรูเพลา+ร่องลิ่มเอาเองครับ

จบการนำเสนอ
ขอบคุณที่ติดตามอ่าน
ขอบคุณอาจารย์ผู้มอบความรู้ศิลปวิทยาให้ศิษย์

MAPs

วันก่อนได้ลองเขียนแบบ แบบตัวนั้นมันต้องแนบแผนที่สังเขปของโครงการ ลองๆ แล้วก็ใช้ snazzymaps แล้วก็เอามาทำต่อใน inkscape มันก็ออกมาดูได้ระดับห...